ยอดจัดไฟแนนซ์คิดยังไง จัดได้เท่าไหร่??
วันที่เขียน : 2015-02-24
สวัสดีค่ะ เพื่อน หลังจากห่างหายไปนานจากการเขียน Blog นะคะ มีเรื่องราวอยากจะ update แต่ติดภาระกิจอิลุงตุงนัง วันนี้ฤกษ์ดี เลยอยากมา แชร์ความรู้ให้กับแฟนเพจ car2home ได้ทราบ
เกริ่นนำนิดนึง.. คือ มีลูกค้าหลายท่านสอบถามกับทาง car2home เกี่ยวกับเรื่องยอดจัดว่ารถคันนั้นคันนี้จัดได้เท่าไหร่ ซึ่งคำถามอาจจะดูตอบง่ายๆ แต่จริงๆ แล้วเรื่อง ยอดจัดไฟแนนซ์ เหมือนเรายืมตังสถาบันการเงินมาซื้อของซักชิ้น "ของ" ในที่นี้เราหมายถึง “รถยนต์”
รถยนต์แต่ละคันมียอดจัดไฟแนนซ์นะคะ ทีนี้มันจะต่างเอาอะไรมาเป็นตัววัด คือ
1.) ยี่ห้อรถยนต์ (Brand)
2.) รุ่น (รุ่นย่อย) / โฉม (Model)
3.) ปีจดทะเบียน (Year)
4.) ระบบเกียร์ (Transmission)
เมื่อได้ข้อมูลครบ เราถึงจะสามารถนำข้อมูลของรถคันนั้นๆ มาดูยอดจัดไฟแนนซ์ว่าได้เท่าไหร่ เพราะในแต่รุ่นจะมีรุ่นย่อยเยอะมาก และราคาป้ายแดงที่ซื้อมาก็ต่างกัน ยอดจัดก็จะถูกปรับลงตามค่าเสื่อมรวมถึงความนิยมในแต่ละรุ่นย่อยด้วย
ซึ่งยอดจัดไฟแนนซ์มันคนละส่วนกันกับราคาขาย ในการขอสินเชื่อเราไม่ได้เอาราคาซื้อขายมาคำนวณแต่อย่างใด
รถยนต์รุ่นเดียวกันแต่ต่างปี ในปีที่แก่กว่า ยอดจัดก็จะน้อยกว่าเช่นกัน
ยกตัวอย่างรถที่คุณต้องการขอยอดจัดเป็นรถรุ่นนี้
ทีนี้ผู้อ่านอาจจะงง แล้วรู้ได้ไงว่ารถของท่านเองเป็น รุ่นไหนโฉมไหน
ดูที่หน้า Book Service (ถ้ามี) มันจะบอกค่ะว่า แต่ถ้าเป็นในหน้าสำเนาเล่มจะไม่บอกนะคะ
อาจจะส่งสำเนารถยนต์มาให้ทาง car2home ดูก็ได้ค่ะเพื่อความชัวร์
หรือ สังเกตุจากโฉมรถยนต์ก็ได้ค่ะ
เพราะตอนที่เราเชคราคายอดจัดจะเห็นได้ว่าในปีเดียวกันมีรถนต์ อยู่ 2 โฉม
คือ MY08 และ MY10
เมื่อเราให้ข้อมูลรถที่ครบถ้วน ก็จะนำไปสู่การให้ยอดจัดที่ใกล้เคียงและแม่นยำมากขึ้น
ถ้าหากราคาขาย แพงกว่า ยอดจัดไฟแนนซ์ จะทำให้เกิดส่วนต่าง ซึ่งเราเรียกว่า " เงินดาวน์"
ยกตัวอย่างเช่น
ราคาขาย 350,000 บาท
จัดไฟแนนซ์ได้ 330,000 บาท
ดังนั้นจะเกิดส่วนต่าง (เงินดาวน์) 20,000 บาท
เงินดาวน์จะมากหรือน้อย ทั้งนี้ต้องไปต่อรองกับผู้ขายเอง ต่อรองกับสถาบันการเงินไม่ได้ นะคะ แต่ลูกค้าจะสามารถจัดได้สูง เท่าใด 100 % 90% 85% หรือต่ำกว่านั้น
ต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น
.
- ประวัติการผ่อนชำระ (NCB) ของผู้ขอสินเชื่อ
- Profile ลูกค้าเหมาะสมกับหลักเกณฑ์สถาบันการเงินใด
- อาชีพ (แหล่งที่มาของรายได้)
- สภาพคล่องทางการเงิน (การหมุนเวียนของบัญชี)
- สถานที่พัก (บ้านตนเอง หรือ บ้านเช่า หรือ หอพัก เป็นต้น)
- การมีผู้ค้ำประกัน
ฯ ล ฯ
ด้วยรวมๆ สถาบันการเงินจะเอาข้อมูลดังกล่าว ไปวิเคราะห์
ซึ่งแต่ละสถาบันการเงินไม่ว่าจะเป็น ระบบธนาคาร(Bank) หรือ ลิสซิ่ง (Non Bank)
มีเกฑณ์ในการเลือกลูกค้าของตัวเองที่แตกต่างกัน รวมถึงพิจารณาจากองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย ลูกค้าบางท่านายื่นกับ สถาบันการเงิน ก.ไม่ผ่าน แต่อาจะผ่านที่สถาบันการเงิน ข. ทั้งนี้การวิเคราะห์สินเชื่อไม่สามารถ บอกได้ว่าใครจะผ่านหรือไม่ผ่านได้ด้วยข้อมูลอันน้อยนิด ดังนั้นหากต้องการจัดไฟแนนซ์ให้ผ่านชัวร์ ต้องให้ทีมงานวิเคราะห์สินเชื่อมืออาชีพเป็นผู้ช่วยคุณดีกว่านะคะ
ไว้ติดตามใน บทความต่อไปนะคะ
Credit : คุณตั้ม(Car2home)
www.car2home.net